การรักษามะเร็งท่อน้ำดี
ปัจจัยสำคัญของการตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษามะเร็งท่อน้ำดีคือขอบเขตของมะเร็ง วิธีการที่ใช้รักษามะเร็งท่อน้ำดีนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรคและขนาดของก้อนมะเร็ง รวมทั้งระยะการแพร่กระจายของมะเร็ง นอกจากนี้ เพศและสุขภาพของตัวผู้ป่วยเองก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาว่าสามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่ โดยส่วนใหญ่ทีมแพทย์ผู้รักษาต้องมีการวางแผนการรักษาล่วงหน้า การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาเป็นวิธีการรักษามะเร็งท่อน้ำดีที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีทุกราย โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแบ่งประเภทของมะเร็งตามการรักษาเป็น 2 ประเภท ได้แก่
-
มะเร็งที่สามารถทำการผ่าตัดได้:
มะเร็งประเภทนี้คือมะเร็งที่แพทย์ให้ความเห็นว่าสามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาได้อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายและการวินิจฉัยวิธีอื่นๆ มะเร็งที่อยู่ในระยะ 0, I และ II รวมทั้งผู้ป่วยบางคนในระยะ III ของระบบ TNM มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น เช่น ตำแหน่งของก้อนมะเร็งและความพร้อมของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน
การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกอย่างสมบูรณ์นั้นเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เมื่อแพทย์พิจารณาให้ทำรักษาโดยการผ่าตัด ก็จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจระยะการดำเนินโรคก่อนโดยการใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปตรวจภายในช่องท้อง (laparoscopy) เพื่อดูว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีการแพร่กระจายหรือลุกลามไปแล้วก็จะไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้กล่าวรายละเอียดในหัวข้อต่อไป
ประเภทของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขอบเขตของมะเร็ง ถ้าผู้ป่วยมีอาการดีซ่านก่อนที่จะได้รับการผ่าตัด ก็จำเป็นต้องมีการใช้ขดลวดหรือท่อเพื่อให้มีการระบายของน้ำดี ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นและอาจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีร่างกายที่มีสภาพพร้อมที่จะได้รับการผ่าตัด
Adjuvant chemotherapy คือการให้ยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงและการกลับมาเกิดซ้ำของมะเร็ง แต่แพทย์ก็ยังไม่สามารถลงความเห็นได้ว่าวิธีจะได้ผลเต็มที่หรือไม่ การให้ยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัดมักจะให้เมื่อแพทย์ค่อนข้างมั่นใจว่ามะเร็งที่ทำการผ่าตัดนั้นไม่สามารถผ่าตัดออกมาได้อย่างสมบูรณ์(อาศัยข้อมูลจากการตรวจชิ้นเนื้อในห้อปฏิบัติการ) ถ้าพบว่ามีมะเร็งหลงเหลืออยู่อย่างชัดเจน แพทย์อาจลงความเห็นให้มีการผ่าตัดครั้งที่สองในผู้ป่วยบางราย
แต่ในบางกรณีที่ข้อมูลจากการถ่ายภาพยังไม่ชัดเจนว่ามะเร็งนั้นจะถูกผ่าตัดออกไปอย่างสมบูรณ์หรือไม่ มะเร็งประเภทนี้จะถูกเรียกว่า borderline resectacleแพทย์อาจจะลงความเห็นให้ทำรังสีรักษาหรือให้ยาเคมีบำบัดก่อนรับการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง ซึ่งวีธีนี้เรียกว่า neoadjuvant treatment ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะมีประโยชน์ต่อการรักษามะเร็งบางประเภท แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะได้ผลเต็มที่หรือไม่ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีr
มะเร็งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้:
มะเร็งประเภทนี้มีการแพร่กระจายไปไกลหรือเกิดในตำแหน่งที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดเอาออกมาได้ โดยมักเป็นมะเร็งที่อยู่ในระยะที่ III หรือ IV หรืออาจเป็นมะเร็งระยะแรก แต่สภาพร่างกายของผู้ป่วยไม่แข็งแรงพอที่จะทำการผ่าตัด ซึ่งมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ในผู้ป่วยบางคนที่ยังชี้ชัดไม่ได้ว่าสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดมะเร็งได้หรือไม่ จะต้องมีการทำรังสีรักษาเพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนที่จะทำการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาได้อย่างสมบูรณ์
ในผู้ป่วยบางรายที่แพทย์วินิจฉัยว่ามะเร็งก้อนนั้นสามารถผ่าตัดออกมาได้ แต่เมื่อทำการผ่าตัดแล้วไม่สามารถเอาก้อนมะเร็งออกได้หมด ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการที่มะเร็งมีการแพร่ไปไกลและไม่สามารถมองเห็นได้จากการถ่ายภาพก่อนที่จะทำการผ่าตัด เป็นต้น ในกรณีนี้การผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งบางส่วนออกไปและการผ่าตัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนั้นอาจจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีการทำ bypass ของท่อน้ำดีเพื่อลดการอุดตันของท่อน้ำดี หรือทำการใส่ขดลวดเพื่อขยายท่อน้ำดีระหว่างทำการผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นวิธีการรักษาอีกหนึ่งทางเลือก
ในบางกรณี อาจทำการรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับ (ในกรณีที่แพทย์ทำการผ่าตัดเอาตับและท่อน้ำดีออกไปแล้ว) ซึ่งจะมีการให้ยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาก่อนเป็นอันดับแรก แต่อย่างไรก็ตามการหาผู้บริจาคตับที่สามารถเข้ากับผู้ป่วยได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
มะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่มักจะเป็นประเภทที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ ดังนั้นในการรักษามะเร็งชนิดนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อที่จะควบคุมไม่ให้มะเร็งเจริญหรือขยายไปมากว่าเดิมและเพื่อบรรเทาอาการที่เป็นผลจากมะเร็ง
การทำรังสีรักษาและ/หรือการให้ยาเคมีบำบัดอาจช่วยลดขนาดของก้อนมะเร็งหรือชะลอการเจริญของมะเร็งได้ในบางกรณี สำหรับมะเร็งท่อน้ำดีที่เกิดขึ้นภายในตับ การสลายมะเร็งโดยการใช้ความร้อนสูงจากคลื่นความถี่หรือการใช้ความเย็นจัดก็สามารถควบคุมขนาดของมะเร็งได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพบว่ามะเร็งยังสามารถเกิดซ้ำได้อีกหลังการรักษา
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาเพื่อบรรเทาอาการอันเนื่องมากจากมะเร็ง ซึ่งปัญหาหลักที่สำคัญที่พบมากก็คือ การอุดตันของท่อน้ำดี (ซึ่งจะทำให้เกิดดีซ่าน อาการคันและอื่นๆ) และความเจ็บปวด
การอุดตันของท่อน้ำดีสามรถทำการรักษาได้โดยการผ่าตัดหรือวิธีการอื่นๆ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดมะเร็งออกได้ การหลีกเลี่ยงการผ่าตัดใหญ่และทำการรักษาด้วยวิธีอื่นน่าจะเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีกว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยกำลังเข้ารับการผ่าตัด แต่พบว่าไม่สามารถผ่าตัดมะเร็งออกมาได้การทำ bypassท่อน้ำดีก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกวิธีหนึ่ง หรือในบางกรณีอาจมีการใช้ขดลวดหรือท่อ (stent หรือ catheter) เพื่อช่วยขยายและระบายน้ำดี
แนวทางการรักษาอื่นเพื่อช่วยเปิดท่อน้ำดีที่อุดตันก็คือ การฝังแร่ (Brachytherapy) ซึ่งเป็นการฝังชิ้นส่วนเล็กๆของแร่กัมมันตรังสีเข้าไปในท่อน้ำดีในระยะเวลาสั้นๆ และการทำ photodynamic ซึ่งก็คือการยิงแสงเพื่อไปกระตุ้นยาที่ฉีดเข้าไปในหลอดเลือดดำแล้วใช้กล้อง endoscope ที่ติดตัวกำเนิดแสงที่ปลายกล้องสอดเข้าไปในท่อน้ำดี
มะเร็งท่อน้ำดีในระยะท้ายอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรต้องแจ้งแก่แพทย์ประจำตัวหากมีอาการเจ็บปวด ซึ่งแพทย์อาจจะทำการฉายรังสี, การฉีดแอลกอฮอล์ หรือสลายก้อนมะเร็งที่อยู่ในตับเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาเพื่อควบคุมและบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยตามความเหมาะสม
การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการรักษามะเร็ง ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรแจ้งอาการที่เกิดขึ้น, ความเจ็บปวดต่างๆ รวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ควรคำนึงถึงแก่ทีมแพทย์ผู้ทำการรักษา
การกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งท่อน้ำดี:
บางครั้งหลังทำการรักษาแล้ว มะเร็งอาจมีการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งอาจกลับมาเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่ไกลออกไป เนื่องจากมีการแพร่กระจาย ถ้าหากมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ การรักษาลำดับต่อไปจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มะเร็งเกิดอีกครั้ง, วิธีการที่ทำรักษาในครั้งแรกและสภาวะร่างกายของผู้ป่วย
ในกรณีที่มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด การรักษาจะมุ่งเป้าไปที่การควบคุมไม่ให้มะเร็งเจริญและบรรเทาอาการที่เกิดจากมะเร็งดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ในกรณีที่มะเร็งกลับมาเป็นที่ตำแหน่งเดิมซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก ก็อาจทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้
-
การรักษามะเร็งท่อน้ำดี
ปัจจัยสำคัญของการตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษามะเร็งท่อน้ำดีคือขอบเขตของมะเร็ง วิธีการที่ใช้รักษามะเร็งท่อน้ำดีนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรคและขนาดของก้อนมะเร็ง รวมทั้งระยะการแพร่กระจายของมะเร็ง นอกจากนี้ เพศและสุขภาพของตัวผู้ป่วยเองก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาว่าสามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่ โดยส่วนใหญ่ทีมแพทย์ผู้รักษาต้องมีการวางแผนการรักษาล่วงหน้า การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาเป็นวิธีการรักษามะเร็งท่อน้ำดีที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีทุกราย โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแบ่งประเภทของมะเร็งตามการรักษาเป็น 2 ประเภท ได้แก่
มะเร็งที่สามารถทำการผ่าตัดได้:
การรักษาแบบประคับประคองสำหรับโรคมะเร็งท่อน้ำดีการรักษาแบบประคับประคองสำหรับมะเร็งท่อน้ำดี:
การรักษาแบบประคับประคองคือ การรักษาที่ช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการที่เกิดในโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย ซึ่งการรักษานี้ไม่การรักษาเพื่อให้หายขาด ถ้ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปไกลแล้วก็อาจทำการผ่าตัด โดยแพทย์จะมุ่งเน้นการผ่าตัดแบบประคับประคอง การทำรังสีรักษาแบบประคับประคอง หรือการรักษาแนวทางอื่นๆเพื่อที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือป้องกันอาการแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากโรคมะเร็ง เนื่องจากมะเร็งท่อน้ำดีมีการดำเนินโรคไประยะท้ายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแพทย์จะพยายามใช้การรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การผ่าตัดแบบประคับประคอง:
ในบางกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่ามะเร็งก้อนนั้นสามารถรักษาโดยทำการผ่าตัดออกได้อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายหรือการตรวจโดยกล้อง แต่เมื่อเริ่มทำการผ่าตัดพบว่ามะเร็งมีการดำเนินโรคไปเป็นระยะท้ายแล้วและไม่สามารถทำการผ่าตัดเอาออกมาได้อย่างสมบูรณ์ ในกรณีเช่นนี้ ศัลยแพทย์ก็ยังทำการรักษา เพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการโดยใช้วิธีการผ่าตัดรักษาแบบอื่นBiliary bypass:
การผ่าตัด biliary bypass มีหลายรูปแบบ ซึ่งการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการอุดตัน การรักษาวิธีนี้ ศัลยแพทย์จะสร้างท่ออ้อมก้อนมะเร็งที่อุดตันท่อน้ำดี โดยการต่อเชื่อมส่วนของท่อน้ำดีที่อยู่หน้าก้อนมะเร็งกับท่อน้ำดีส่วนที่อยู่หลังก้อนมะเร็งหรือต่อเข้ากับลำไส้เล็กการรักษาวิธีนี้มักใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาแล้ว แต่มะเร็งไม่สามารถผ่าตัดออกมาได้ ถึงแม้วิธี bypass มักจะทำให้เกิดความเจ็บปวดมากกว่าการใส่ท่อหรือขดลวดเพื่อขยายท่อน้ำดี แต่วิธีนี้ก็มีประโยชน์ในแง่ของความคงทนและโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อน้อยกว่าการใส่ขดลวดหรือท่อเพื่อขยายท่อน้ำดี:
ในกรณีที่ไม่สามารถทำ bypass ได้ ศัลยแพทย์สามารถใส่พลาสติกหรือขดลวดที่เรียกว่า stent เข้าไปในท่อน้ำดีเพื่อขยายให้ท่อน้ำดีเปิดออก บางครั้งแพทย์จะใช้ท่อที่มีลักษณะยืดหยุ่น ที่เรียกว่า catheter เข้าไปในท่อน้ำดีเพื่อให้น้ำดีระบายออกมาได้ ซึ่งสามารถทำได้หลังจากการถ่ายภาพรังสีของท่อน้ำดี (cholangiography ) หรือทำระหว่างที่ผ่าตัดStent คือ ขดลวดหรือพลาสติกขนาดเล็กที่แพทย์ใส่เข้าไปในท่อน้ำดี เพื่อเปิดท่อน้ำดีให้น้ำดีระบายสู่ลำไส้เล็กได้
Catheter คือ ท่อบางๆ ที่มีลักษณะยืดหยุ่น ปลายด้านหนึ่งของท่อจะต่อกับท่อน้ำดีเพื่อให้น้ำดีระบายลงถุงที่อยู่ภายนอกร่างกายโดยเจาะเชื่อมผ่านทางผิวหนังบริเวณหน้าท้อง ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะให้คำแนะนำและวิธีการใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องใช้ catheterวิธีนี้มักใช้เพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำดีระยะท้าย นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการดีซ่านก่อนที่จะทำการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยลดอากาแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากการผ่าตัดได้ stent หรือ catheter จะต้องเปลี่ยนทุกๆสองหรือสามเดือนเนื่องจากอาจเกิดการอุดตันและช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบรังสีรักษาแบบประคับประคอง:รังสีรักษาคือการใช้รังสีพลังงานสูงหรืออนุภาคในการทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีนี้มักใช้ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะที่ยากเกินที่จะทำการรักษา ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดหรืออาการของโรค โดยการลดขนาดของก้อนมะเร็งที่อุดตันท่อน้ำดีหรือหลอดเลือด หรือกดทับเส้นประสาท
รังสีรักษาแบบประคับประคอง:
รังสีรักษาคือการใช้รังสีพลังงานสูงหรืออนุภาคในการทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีนี้มักใช้ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะที่ยากเกินที่จะทำการรักษา ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดหรืออาการของโรค โดยการลดขนาดของก้อนมะเร็งที่อุดตันท่อน้ำดีหรือหลอดเลือด หรือกดทับเส้นการฉายรังสีจากภายนอก (External beam radiation therapy; EBRT):
รังสีรักษาประเภทนี้เป็นการใช้รังสีเอ็กซเรย์จากเครื่องฉายรังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ก่อนที่จะเริ่มทำการรักษา ทีมแพทย์ที่การรักษาจะทำการวัดมุมและตำแหน่งที่ถูกต้องในการฉายรังสีและปริมาณรังสีที่เหมาะสม วิธีนี้จะคล้ายกับการทำเอ็กซเรย์ เพียงแต่ใช้รังสีในปริมาณมากกว่า ซึ่งวิธีการรักษานี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด การรักษาใช้เวลาไม่นานแต่การเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษาจะค่อนข้างใช้เวลานาน โดยส่วนใหญ่การทำรังสีรักษาจะใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์ และรักษาติดต่อกันหลายสัปดาห์เทคนิคใหม่ในการทำรังสีรักษาทำให้แพทย์สามารถรักษามะเร็งท่อน้ำดีได้แม่นยำมากขึ้น รวมทั้งสามารถลดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติข้างเคียง ซึ่งทำให้การรักษาประสบความสำเร็จและลดผลข้างเคียงจากการรักษาได้
การฉายรังสีสามมิติ (Three-dimensional conformal radiation therapy; 3D-CRT):
รังสีรักษาประเภทนี้จะใช้คอมพิวเตอร์พิเศษเพื่อให้เกิดความแม่นยำในกำหนดขอบเขตบริเวณที่เป็นมะเร็ง แล้วจึงทำการฉายรังสีไปที่ก้อนมะเร็งจากหลายทิศทาง ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงกับเนื้อเยื่อรอบข้างการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity-modulated radiation therapy; IMRT):
การฉายรังสีวิธีนี้จะมีความทันสมัยมากกว่าการฉายรังสีแบบสามมิติ เนื่องจากจะใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมอุปกรณ์ให้เคลื่อนที่ไปรอบๆผู้ป่วยในขณะที่ทำการฉายรังสี ซึ่งจะมีการฉายรังสีไปที่ก้อนมะเร็งจาหลายมุม หลายความเข้ม ซึ่งความเข้มของรังสีสามารถปรับและกำหนดค่าได้เพื่อไม่ให้กระทบต่อเนื้อเยื่อปกติ เครื่องมือนี้จะทำให้แพทย์สามารถฉายรังสีไปยังก้อนมะเร็งได้ในปริมาณมากขึ้นการฉายรังสีปริมาณสูงครั้งเดียวไปยังตำแหน่งที่ต้องการความแม่นยำ (Stereotactic body radiotherapy; SBRT):
การฉายรังสีประเภทนี้จะรวมวิธีการฉายรังสีแบบสามมิติและการฉายรังสีแบบปรับความเข้มแต่ใช้ระยะเวลาการรักษาสั้นกว่า การใช้รังสีรักษาด้วยวิธีนี้มักให้การรักษาน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ในขณะที่รังสีรักษาวิธีอื่นมักใช้เวลา 3-6 สัปดาห์ผลข้างเคียงของการฉายรังสีจากภายนอก (EBRT):
ผลข้างเคียงของการฉายรังสีจากภายนอกขึ้นอยู่กับบริเวณในร่างกายที่รับการรักษา ซึ่งผลข้างเคียงที่พบได้แก่:สีผิวเปลี่ยน ทำให้ผิวหนังแดง พองและลอก
วิงเวียนศีรษะและอาเจียน
วิงเวียนศีรษะและอาเจียน
อ่อนเพลีย
ผมร่วง
จำนวนเม็ดเลือดลดลงการฝังแร่ (การฉายรังสีภายในร่างกาย):
การรักษาวิธีนี้ เป็นการใช้ชิ้นส่วนสารกัมมันตรังสีชิ้นเล็กๆฝังเข้าไปยังบริเวณข้างๆก้อนมะเร็งหรือที่ก้อนมะเร็งโดยตรง รังสีจะเดินทางระยะสั้นมาก ดังนั้นจึงมีผลต่อมะเร็งโดยที่ไม่มีผลข้างเคียงกับเนื้อเยื่อปกติอื่นๆ การรักษามะเร็งท่อน้ำดีโดยวิธีฝังแร่ บางครั้งอาจจะทำโดยชิ้นส่วนของแร่ในหลอดแล้วฝังเข้าไปในท่อน้ำดีการสลายก้อนมะเร็งการสลายก้อนมะเร็ง (โดยการใช้คลื่นความถี่สูงหรือการผ่าตัดด้วยความเย็น):
ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกจากตับได้ บางครั้งแพทย์จะใช้วิธีสลายก้อนมะเร็งโดยการใส่แท่งโลหะผ่านทางผิวหนังเข้าไปยังก้อนมะเร็ง ซึ่งส่วนปลายของแท่งนี้จะปล่อยความร้อน (จากคลื่นความถี่สูง) หรือปล่อยความเย็นจัด (กรณีที่เป็น cryotherapy) เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็งการรักษาโดยการใช้แสงช่วยกระตุ้น (Photodynamic therapy; PDT):
เทคนิคนี้เป็นการใช้แสงเพื่อช่วยกระตุ้นยาที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะช่วยให้ยาไปที่ก้อนมะเร็งได้มากขึ้นและไปที่เซลล์ปกติได้น้อยลง เมื่อทำการตรวจท่อน้ำดีโดยการสอดกล้องเข้าไปในร่างกาย (endoscope) จะมีแสงสีแดงส่งออกมาจากที่ส่วนปลายของกล้องส่องไปยังก้อนมะเร็งเพื่อใช้ไปทำลายเซลล์มะเร็ง การทำ PDT ร่วมกับการใช้ขดลวดเพื่อขยายท่อน้ำดี (Stenting) มีประโยชน์สำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีท่อไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาได้แต่บางครั้งหลังจากการรักษาด้วยวิธี PDT จะมียาบางส่วนที่สามารถไปที่เซลล์ปกติได้ จึงทำให้ผู้ที่รับการรักษาไวต่อแสงแดด ซึ่งผู้รับการรักษาจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดเป็นเวลาหลายสัปดาห์หลังรับการรักษาการฉีดแอลกอฮอล์:
แพทย์อาจมีความจำเป็นที่จะต้องกดเส้นประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดจากบริเวณท่อน้ำดีและลำไส้เล็กด้วยการฉีดแอลกอฮอล์ไปยังเส้นประสาทนี้เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ซึ่งมักจะทำระหว่างการผ่าต
แหล่งข้อมูลอ้างอิง: -
การรักษาแบบประคับประคองสำหรับโรคมะเร็งท่อน้ำดี
การรักษาแบบประคับประคองสำหรับมะเร็งท่อน้ำดี:
การรักษาแบบประคับประคองคือ การรักษาที่ช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการที่เกิดในโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย ซึ่งการรักษานี้ไม่การรักษาเพื่อให้หายขาด ถ้ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปไกลแล้วก็อาจทำการผ่าตัด โดยแพทย์จะมุ่งเน้นการผ่าตัดแบบประคับประคอง การทำรังสีรักษาแบบประคับประคอง หรือการรักษาแนวทางอื่นๆเพื่อที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือป้องกันอาการแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากโรคมะเร็ง เนื่องจากมะเร็งท่อน้ำดีมีการดำเนินโรคไประยะท้ายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแพทย์จะพยายามใช้การรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การผ่าตัดแบบประคับประคอง:
ในบางกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่ามะเร็งก้อนนั้นสามารถรักษาโดยทำการผ่าตัดออกได้อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายหรือการตรวจโดยกล้อง แต่เมื่อเริ่มทำการผ่าตัดพบว่ามะเร็งมีการดำเนินโรคไปเป็นระยะท้ายแล้วและไม่สามารถทำการผ่าตัดเอาออกมาได้อย่างสมบูรณ์ ในกรณีเช่นนี้ ศัลยแพทย์ก็ยังทำการรักษา เพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการโดยใช้วิธีการผ่าตัดรักษาแบบอื่นBiliary bypass:
การผ่าตัด biliary bypass มีหลายรูปแบบ ซึ่งการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการอุดตัน การรักษาวิธีนี้ ศัลยแพทย์จะสร้างท่ออ้อมก้อนมะเร็งที่อุดตันท่อน้ำดี โดยการต่อเชื่อมส่วนของท่อน้ำดีที่อยู่หน้าก้อนมะเร็งกับท่อน้ำดีส่วนที่อยู่หลังก้อนมะเร็งหรือต่อเข้ากับลำไส้เล็กการรักษาวิธีนี้มักใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาแล้ว แต่มะเร็งไม่สามารถผ่าตัดออกมาได้ ถึงแม้วิธี bypass มักจะทำให้เกิดความเจ็บปวดมากกว่าการใส่ท่อหรือขดลวดเพื่อขยายท่อน้ำดี แต่วิธีนี้ก็มีประโยชน์ในแง่ของความคงทนและโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อน้อยกว่าการใส่ขดลวดหรือท่อเพื่อขยายท่อน้ำดี:
ในกรณีที่ไม่สามารถทำ bypass ได้ ศัลยแพทย์สามารถใส่พลาสติกหรือขดลวดที่เรียกว่า stent เข้าไปในท่อน้ำดีเพื่อขยายให้ท่อน้ำดีเปิดออก บางครั้งแพทย์จะใช้ท่อที่มีลักษณะยืดหยุ่น ที่เรียกว่า catheter เข้าไปในท่อน้ำดีเพื่อให้น้ำดีระบายออกมาได้ ซึ่งสามารถทำได้หลังจากการถ่ายภาพรังสีของท่อน้ำดี (cholangiography ) หรือทำระหว่างที่ผ่าตัดStent คือ ขดลวดหรือพลาสติกขนาดเล็กที่แพทย์ใส่เข้าไปในท่อน้ำดี เพื่อเปิดท่อน้ำดีให้น้ำดีระบายสู่ลำไส้เล็กได้
Catheter คือ ท่อบางๆ ที่มีลักษณะยืดหยุ่น ปลายด้านหนึ่งของท่อจะต่อกับท่อน้ำดีเพื่อให้น้ำดีระบายลงถุงที่อยู่ภายนอกร่างกายโดยเจาะเชื่อมผ่านทางผิวหนังบริเวณหน้าท้อง ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะให้คำแนะนำและวิธีการใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องใช้ catheterวิธีนี้มักใช้เพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำดีระยะท้าย นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการดีซ่านก่อนที่จะทำการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยลดอากาแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากการผ่าตัดได้ stent หรือ catheter จะต้องเปลี่ยนทุกๆสองหรือสามเดือนเนื่องจากอาจเกิดการอุดตันและช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบรังสีรักษาแบบประคับประคอง:รังสีรักษาคือการใช้รังสีพลังงานสูงหรืออนุภาคในการทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีนี้มักใช้ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะที่ยากเกินที่จะทำการรักษา ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดหรืออาการของโรค โดยการลดขนาดของก้อนมะเร็งที่อุดตันท่อน้ำดีหรือหลอดเลือด หรือกดทับเส้นประสาท
รังสีรักษาแบบประคับประคอง:
รังสีรักษาคือการใช้รังสีพลังงานสูงหรืออนุภาคในการทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีนี้มักใช้ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะที่ยากเกินที่จะทำการรักษา ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดหรืออาการของโรค โดยการลดขนาดของก้อนมะเร็งที่อุดตันท่อน้ำดีหรือหลอดเลือด หรือกดทับเส้นการฉายรังสีจากภายนอก (External beam radiation therapy; EBRT):
รังสีรักษาประเภทนี้เป็นการใช้รังสีเอ็กซเรย์จากเครื่องฉายรังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ก่อนที่จะเริ่มทำการรักษา ทีมแพทย์ที่การรักษาจะทำการวัดมุมและตำแหน่งที่ถูกต้องในการฉายรังสีและปริมาณรังสีที่เหมาะสม วิธีนี้จะคล้ายกับการทำเอ็กซเรย์ เพียงแต่ใช้รังสีในปริมาณมากกว่า ซึ่งวิธีการรักษานี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด การรักษาใช้เวลาไม่นานแต่การเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษาจะค่อนข้างใช้เวลานาน โดยส่วนใหญ่การทำรังสีรักษาจะใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์ และรักษาติดต่อกันหลายสัปดาห์เทคนิคใหม่ในการทำรังสีรักษาทำให้แพทย์สามารถรักษามะเร็งท่อน้ำดีได้แม่นยำมากขึ้น รวมทั้งสามารถลดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติข้างเคียง ซึ่งทำให้การรักษาประสบความสำเร็จและลดผลข้างเคียงจากการรักษาได้
การฉายรังสีสามมิติ (Three-dimensional conformal radiation therapy; 3D-CRT):
รังสีรักษาประเภทนี้จะใช้คอมพิวเตอร์พิเศษเพื่อให้เกิดความแม่นยำในกำหนดขอบเขตบริเวณที่เป็นมะเร็ง แล้วจึงทำการฉายรังสีไปที่ก้อนมะเร็งจากหลายทิศทาง ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงกับเนื้อเยื่อรอบข้าง
การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity-modulated radiation therapy; IMRT):
การฉายรังสีวิธีนี้จะมีความทันสมัยมากกว่าการฉายรังสีแบบสามมิติ เนื่องจากจะใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมอุปกรณ์ให้เคลื่อนที่ไปรอบๆผู้ป่วยในขณะที่ทำการฉายรังสี ซึ่งจะมีการฉายรังสีไปที่ก้อนมะเร็งจาหลายมุม หลายความเข้ม ซึ่งความเข้มของรังสีสามารถปรับและกำหนดค่าได้เพื่อไม่ให้กระทบต่อเนื้อเยื่อปกติ เครื่องมือนี้จะทำให้แพทย์สามารถฉายรังสีไปยังก้อนมะเร็งได้ในปริมาณมากขึ้น
การฉายรังสีปริมาณสูงครั้งเดียวไปยังตำแหน่งที่ต้องการความแม่นยำ (Stereotactic body radiotherapy; SBRT):
การฉายรังสีประเภทนี้จะรวมวิธีการฉายรังสีแบบสามมิติและการฉายรังสีแบบปรับความเข้มแต่ใช้ระยะเวลาการรักษาสั้นกว่า การใช้รังสีรักษาด้วยวิธีนี้มักให้การรักษาน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ในขณะที่รังสีรักษาวิธีอื่นมักใช้เวลา 3-6 สัปดาห์ผลข้างเคียงของการฉายรังสีจากภายนอก (EBRT):
ผลข้างเคียงของการฉายรังสีจากภายนอกขึ้นอยู่กับบริเวณในร่างกายที่รับการรักษา ซึ่งผลข้างเคียงที่พบได้แก่:สีผิวเปลี่ยน ทำให้ผิวหนังแดง พองและลอก
วิงเวียนศีรษะและอาเจียน
วิงเวียนศีรษะและอาเจียน
อ่อนเพลีย
ผมร่วง
จำนวนเม็ดเลือดลดลงการฝังแร่ (การฉายรังสีภายในร่างกาย):
การรักษาวิธีนี้ เป็นการใช้ชิ้นส่วนสารกัมมันตรังสีชิ้นเล็กๆฝังเข้าไปยังบริเวณข้างๆก้อนมะเร็งหรือที่ก้อนมะเร็งโดยตรง รังสีจะเดินทางระยะสั้นมาก ดังนั้นจึงมีผลต่อมะเร็งโดยที่ไม่มีผลข้างเคียงกับเนื้อเยื่อปกติอื่นๆ การรักษามะเร็งท่อน้ำดีโดยวิธีฝังแร่ บางครั้งอาจจะทำโดยชิ้นส่วนของแร่ในหลอดแล้วฝังเข้าไปในท่อน้ำดีการสลายก้อนมะเร็งการสลายก้อนมะเร็ง (โดยการใช้คลื่นความถี่สูงหรือการผ่าตัดด้วยความเย็น):
ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกจากตับได้ บางครั้งแพทย์จะใช้วิธีสลายก้อนมะเร็งโดยการใส่แท่งโลหะผ่านทางผิวหนังเข้าไปยังก้อนมะเร็ง ซึ่งส่วนปลายของแท่งนี้จะปล่อยความร้อน (จากคลื่นความถี่สูง) หรือปล่อยความเย็นจัด (กรณีที่เป็น cryotherapy) เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็งการรักษาโดยการใช้แสงช่วยกระตุ้น (Photodynamic therapy; PDT):
เทคนิคนี้เป็นการใช้แสงเพื่อช่วยกระตุ้นยาที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะช่วยให้ยาไปที่ก้อนมะเร็งได้มากขึ้นและไปที่เซลล์ปกติได้น้อยลง เมื่อทำการตรวจท่อน้ำดีโดยการสอดกล้องเข้าไปในร่างกาย (endoscope) จะมีแสงสีแดงส่งออกมาจากที่ส่วนปลายของกล้องส่องไปยังก้อนมะเร็งเพื่อใช้ไปทำลายเซลล์มะเร็ง การทำ PDT ร่วมกับการใช้ขดลวดเพื่อขยายท่อน้ำดี (Stenting) มีประโยชน์สำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีท่อไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาได้แต่บางครั้งหลังจากการรักษาด้วยวิธี PDT จะมียาบางส่วนที่สามารถไปที่เซลล์ปกติได้ จึงทำให้ผู้ที่รับการรักษาไวต่อแสงแดด ซึ่งผู้รับการรักษาจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดเป็นเวลาหลายสัปดาห์หลังรับการรักษาการฉีดแอลกอฮอล์:
แพทย์อาจมีความจำเป็นที่จะต้องกดเส้นประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดจากบริเวณท่อน้ำดีและลำไส้เล็กด้วยการฉีดแอลกอฮอล์ไปยังเส้นประสาทนี้เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ซึ่งมักจะทำระหว่างการผ่าต
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
-
cancer.org/acs/groups/cid/documents/webcontent/003084-pdf.pdf
– American Joint Committee on Cancer. AJCC Cancer Staging Manual. 7th ed. New York, NY: Springer; 2010: 201-205; 219-230.
– Ciombor KK, Goff LW. Advances in the management of biliary tract cancers. Clin Adv Hematol Oncol. 2013;11:28-34.
– Abou-Alfa GK, Jarnagin W, Lowery M, et al. Chapter 80: Liver and bile duct cancer. In: Niederhuber JE, Armitage JO, Dorshow JH, Kastan MB, Tepper
JE, eds. Abeloff’s Clinical Oncology. 5th ed. Philadelphia, Pa. Elsevier: 2014.
– Bartlett DL, Ramanathan RK, Ben-Josef E. Cancer of the biliary tree. In: DeVita VT, Lawrence TS, Rosenberg SA, eds. DeVita, Hellman, and Rosenberg’s Cancer: Principles and Practice of Oncology. 9th ed. Philadelphia, Pa: Lippincott Williams & Wilkins; 2011: 1019-1047.hopkinsmedicine.org/healthlibrary/conditions/adult/digestive_disorders/bile_duct_caner_cholangiocarcinoma_treatment
Khuntikeo et al. BMC Cancer (2015) 15:459 DOI 10.1186/s12885-015-1475-7: Cohort profile: cholangiocarcinoma screening and care program (CASCAP) Narong Khuntikeo1, Nittaya Chamadol, Puangrat Yongvanit, Watcharin Loilome, Nisana Namwat, Paiboon Sithithaworn, Ross H. Andrews, Trevor N. Petney, Supannee Promthet, Kavin Thinkhamrop, Chaiwat Tawarungruang, Bandit Thinkhamrop,and on behalf of the CASCAP investigators