Diagnosis

การวินิจฉัย

ผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเดินทางมาพบแพทย์ เนื่องจากท่อน้ำดีเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกภายในร่างกาย ดังนั้นมะเร็งที่เกิดขึ้นในระยะแรกๆมักไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจร่างกายทั่วไป และยังไม่มีวิธีการตรวจกรองทางเลือดหรือการตรวจทางห้องปฎิบัติการอื่นๆที่น่าเชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้มะเร็งท่อน้ำดีจึงตรวจพบได้ก็ต่อเมื่อมะเร็งมีการเจริญมากพอจนทำให้มีสัญญาณหรืออาการของโรค

แนวทางในการวินิจฉัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี มีดังนี้:

การซักประวัติและตรวจร่างกาย:
แพทย์จะทำการซักประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียดกับผู้ป่วยที่อาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีและเฝ้าติดตามอาการ นอกจากนี้ต้องมีการตรวจร่างกายประกอบกันไปด้วย ซึ่งหากผู้ป่วยมีผลของการตรวจร่างกายที่ชี้ว่าอาจจะเป็นมะเร็งท่อน้ำดี แพทย์จะสั่งทำการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ, การเอ็กซ์เรย์ อัลตร้าซาวด์และการตรวจอื่นๆ

การตรวจเลือด:
การตรวจการทำงานของตับและถุงน้ำดี:
แพทย์อาจจะสั่งให้ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาค่าบิลลิรูบินในเลือด, ตวจหาโปรตีนอัลบูมิน, ตรวจหาค่าเอนไซม์ในตับ (อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส, AST,ALT และ GGT) รวมทั้งสารอื่นๆในเลือด ซึ่งการทดสอบเหล่านี้สามารถบอกการเกิดโรคของท่อน้ำดี, ถุงน้ำดี หรือตับ ซึ่งหากตรวจพบว่าปริมาณสารต่างๆเหล่ามีค่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ ก็แสดงว่าน่าจะเกิดการอุดตันของท่อน้ำดี แต่ไม่สามารถบอกสาเหตุของการอุดตันว่าเกิดจากมะเร็งหรือสาเหตุอื่นๆ

ตัวบ่งชี้มะเร็ง:
ตัวบ่งชี้มะเร็งคือ สารที่สร้างจากเซลล์มะเร็งซึ่งบางครั้งสามารถตรวจพบได้ในเลือด ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่มักพบว่ามีระดับของสาร CEA และ CA-19-9 ในเลือดสูงขึ้น การมีสารเหล่านี้ในระดับสูงบ่งบอกว่ามีมะเร็งเกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งการทดสอบนี้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งถ้าหากพบว่ามีสารเหล่านี้ในระดับสูงผู้ที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี ก็สามารถใช้ประโยชน์จากสารนี้เพื่อเป็นตัวติดตามอาการและผลการรักษาในผู้ป่วยได้

การตรวจด้วยการถ่ายภาพ:

อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound):
สำหรับการตรวจนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายไมโครโฟนขนาดเล็กเป็นตัวตรวจจับและแปลงข้อมูล ซึ่งเรียกว่าตัว transducer ทำหน้าที่ส่งคลื่นเสียงและเก็บเสียงสะท้อนกลับที่เกิดจากกระกระทบของคลื่นเสียงกับอวัยวะภายในร่างกาย โดยคลื่นเสยงสะท้อนกลับนี้จะถูกเปลี่ยนโดยคอมพิวเตอร์ให้เกิดเป็นภาพบนจอแสดงผล

การอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Abdominal ultrasound):
วิธีนี้เป็นวิธีที่มีความเจ็บปวดน้อยที่สุด ซึ่งการตรวจโดยวิธีไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนพิเศษ ซึ่งจะให้ผลชัดเจนในผู้ที่งดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 6 ชั่วโมง การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องมักใช้เป็นวิธีแรกในการวินิจฉัยผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี บางครั้งจะสามรถตรวจพบก้อนมะเร็งที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมในช่องท้องได้ด้วยจากการตรวจด้วยวิธีนี้ การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องยังสามารถทำให้มองเห็นการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่ตับซึ่งจะพบลักษณะเป็นร่องรอยของก้อนกลมก้อนเดียวหรือหลายก้อน อันเนื่องมาจากการสะท้อนกลับที่แตกต่างกันของสัญญาณจากการอัลตร้าซาวด์.

การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computed tomography scan; CT scan):
CT scan จะทำงานโดยอาศัยรังสีเอ็กซเรย์ทำให้เห็นภาพตามส่วนตัดขวางของร่างกาย ซึ่งจะได้ภาพหลายจากทุกส่วนของร่างกาย เนื่องจากมีการถ่ายภาพหมุนไปทั่วทุกส่วนของร่างกายคอมพิวเตอนร์จะทำหน้าที่รวมภาพแต่ละส่วนของร่างกาย

CT scans สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดังนี้:

  •  ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีโดยแสดงให้เห็นขอบเขตของมะเร็ง
  • ช่วยบอกระยะของโรคมะเร็ง (บอกได้ว่ามะเร็งแพร่กระจายไปไกลเท่าใด)นอกจากนี้ยังสามารถดูอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงท่อน้ำดีได้อีกด้วย (โดย เฉพาะตับ) รวมทั้งต่อมน้และอวัยวะอื่นๆที่มะเร็งมีโอกาสแพร่กระจายไปได้.

CT scans สามารถใช้เป็นตัวชี้นำหากต้องมีการเจาะดูดชิ้นเนื้อมะเร็งหรือมะเร็งที่แพร่กระจาย

การตรวจเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging; MRI):
MRI สามารถแสดงให้เห็นภาพเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกายได้เช่นเดียวกับ CT scan แต่ MRI ใช้คลื่นวิทยุและแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีความแรงมากกว่ารังสีเอ็กซเรย์ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการฉีดสารเพิ่มความคมชัดที่เรียกว่า galdolinium เข้าทางหลอดเลือดเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ การทำ MRI scan จะช่วยเห็นภาพของท่อน้ำดีและอวัยวะอื่นๆได้ชัดเจนมากขึ้น บางครั้งอาจทำให้สามารถตรวจพบเนื้องอกและมะเร็งระยะเริ่มแรก การทำ MRI scan จะมีความยุ่งยากมากกว่า CT scan เล็กน้อย เนื่องจากต้องใช้เวลานาน มักใช้เวลาเป็นชั่วโมงในการทำหนึ่งครั้ง รวมทั้งต้องเข้าไปอยู่ในอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อแคบๆ บางครั้งจึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความกลัวที่แคบซึ่งบงครั้งอาจมีการใช้เครื่อง MRI แบบพิเศษแทน

การถ่ายภาพรังสีในท่อน้ำดี(Cholangiography) :
เป็นวิธีการถ่ายภาพรังสีท่อน้ำดีเพื่อดูว่าเกิดการอุดตันของท่อ, การตีบแคบ หรือมีการขยายของท่อหรือไม่ วิธีนี้จะมีประโยชน์เมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดีเนื่องจากก้อนมะเร็ง และช่วยในการวางแผนเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งการถ่ายภาพรังสีของท่อน้ำดีมีหลากหลายวิธีการ ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป .

การตรวจหาความผิดปกติของท่อน้ำดีด้วยเครื่อง MRI (Magnetic resonance cholangiopancreatography; MRCP):
วิธีนี้เป็นวิธีตรวจที่ไม่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วย โดยการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเดียวกันกบการทำ MRI ซึ่งแพทย์มักเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีเพื่อถ่ายภาพท่อน้ำดี

การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดี (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography; ERCP):
การตรวจวิธีนี้ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อยาวที่เรียกว่า(endoscope)สอดเข้าไปในปาก ผ่านลำคอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็ก ซึ่งระว่างที่ทำการตรวจต้องมีการวางยานอนหลับก่อน แล้วจึงทำการสอดกล้องเข้าไป โดยส่วนปลายของกล้องจะไปสิ้นสุดที่ท่อน้ำดี และจะมีการฉีดสีที่ช่วยเพิ่มความคมชัดผ่านกล้องเข้าไปด้วย เพื่อจะทำให้ภาพของท่อน้ำดีและตับอ่อนมีความคมชัดมากขึ้น และยังทำให้สามารถมองเห็นท่อน้ำดีในกรณีที่มีการตีบแคบหรืออุดตันได้

การเอ็กซเรย์ดูภาพท่อน้ำดี (Percutaneous transhepatic cholangiography; PTC):
วิธีนี้แพทย์จะทำการแทงเข็มกลวงและบาง ผ่านทางทางหน้าท้องไปยังท่อน้ำดีที่อยู่ในตับ ซึ่งผู้ป่วยจได้รับยานอนหลับผ่านทางหลอดเลือดดำก่อนที่ทำการตรวจ และให้ยาชาตรงบริเวณที่จะสอดเข็มเข้าไป และทำการฉีดสารเพิ่มความคมชัดเข้าไปด้วย จากนั้นจึงทำการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ตามบริเวณที่สารดังกล่าวนี้ เคลื่อนที่ผ่าน เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยได้ ดังนั้นแพทย์จะใช้วิธี PTC ก็ต่อเมื่อใช้วิธี ERCP แล้วแต่ได้ผลไม่ชัดเจนหรือไม่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลบางประการ

การอัลตร้าซาวด์โดยการนำกล้องเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยโดยผ่านทางการผ่าตัดขนาดเล็ก (Laparoscopy):
Laparoscopy เป็นการผ่าตัดเล็กประเภทหนึ่ง แพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กและบางซึ่งติดกับกล้องวิดิโอขนาดเล็กผ่านช่องที่ทำการผ่าตัดตรงบริเวณช่องหน้าท้องเพื่อตรวจดูท่อน้ำดี, ถุงน้ำดี, ตับ และอวัยวะอื่นๆ ในบริเวณนั้น วิธีนี้มักทำในห้องผ่าตัดในขณะที่ผู้ป่วยถูกวางยาสลบแล้ว Laparoscopy สามารถช่วยแพทย์วางแผนการผ่าตัดหรือการรักษาได้ และสามารถใช้บ่งชี้ระยะของมะเร็ง หากมีความจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อ แพทย์อาจจะสอดอุปกรณ์ที่ใช้ตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ วิธีนี้มักทำก่อนการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก เพื่อให้มั่นใจว่ามะเร็งถูกตัดออกอย่างสมบูรณ์

การถ่ายภาพรังสีของท่อน้ำดี (Cholangioscopy):
การถ่ายภาพรังสีของท่อน้ำดีทำได้โดยวิธี ERCP (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) แพทย์จะสอดกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กเข้าไปในท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ในวิธี ERCP ซึ่งจะทำให้กล้องสามารถไปยังท่อน้ำดีได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยให้แพทย์มองเห็นการอุดกั้น, ก้อนนิ่ว,ก้อนมะเร็ง หรือสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อได้

การตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy):
การตรวจโดยการถ่ายภาพ (ultrasound, CT or MRI scans, cholangiography เป็นต้น) จะช่วยบอกว่ามีก้อนมะเร็งหรือไม่ แต่บางครั้งการตัดชิ้นเนื้อและนำไปตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์จะช่วยทำให้การวินิจฉัยมีความน่าเชื่อถือขึ้น การตัดชิ้นเนื้อเพื่อเก็บตัวอย่างไปทำการวินิจฉัยมีวิธีการหลายวิธี ดังนี้

วิธีการตัดชิ้นเนื้อ:
การตัดชิ้นเนื้อระหว่างที่ทำการถ่ายภาพรังสีของท่อน้ำดี:
เมื่อแพทย์ทำการตรวจด้วยวีธี ERCP หรือ PTC แพทย์อาจจะเก็บตัวอย่างน้ำดีไปด้วยระหวทำการตรวจเพื่อใช้ตรวจหาเซลล์มะเร็งในน้ำดีเซลล์ท่อน้ำดีและชิ้นส่วนเนื้อเยื่อต่างๆในน้ำดีอาจถูกเก็บเป็นตัวอย่างโดยใช้แปรง แพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็ก ที่มีลักษะยาวและยืดหยุ่นได้ติดเข้าไปกับกล้อง endoscope หรือเข็ม แล้วใช้แปรงนั้นขูดเอาเซลล์และเนื้อเยื่อชิ้นเล็กๆของท่อน้ำดีออกมาโดยการมองผ่านกล้อง

 การเก็บชิ้นเนื้อโดยใช้เข็ม:
การเก็บชิ้นเนื้อด้วยวิธีนี้ แพทย์จะใช้เข็มที่มีลักษณะกลวง บาง แทงผ่านผิวหนัง ไปยังก้อนมะเร็งโดยตรง โดยที่ไม่มีการผ่าตัดเพื่อเปิดชั้นผิวหนัง (มีการให้ยาชาก่อนที่จะแทงเข็ม) การแทงเข็มเข้าไปจะใช้การอัลตร้าซาวด์หรือ CT scan เพื่อดูตำแหน่งที่ถูกต้อง เมื่อเข็มแทงไปถูกบริเวณก้อนมะเร็ง ตัวอย่างจะถูกดูดขึ้นมาผ่านเข็มและส่งไปยังห้องห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ ส่วนใหญ่ การเก็บตัวอย่างด้วยวิธีนี้จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า fine needle aspiration (FNA)โดยจะใช้เข็มที่บางมากๆติดกับไซริงก์แล้วดูดเอาเซลล์ตัวอย่างขึ้นมา แต่บางครั้งกาเก็บตัวอย่างด้วยวิธีนี้อาจได้ตัวอย่างไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย ดังนั้นอาจมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า core needle biopsy ซึ่งเป็นการใช้เข็มที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่มากขึ้น