ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ
ปัจจัยเสี่ยง หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคมะเร็ง การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคหรือบางกรณีผู้ที่เป็นโรคก็อาจจะไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงนั้นๆเลย ซึ่งในบทความนี้เราจะพุ่งเป้าไปที่การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับและความสำคัญในการเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับยังคงมีการระบาดอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสาเหตุของการติดพยาธิใบไม้ในตับของประชาชนในแถบนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบหรือปลาที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น ปลาร้า, ปลาส้ม ซึ่งอาจจะมีไข่พยาธิปนเปื้อนมา ซึ่งเมื่อคนรับประทานและติดไข่พยาธิ พยาธิจะฟักตัวและไปอาศัยอยู่ในท่อน้ำดี ซึ่งสาเหตุนี้คือปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี พยาธิใบไม้ในตับมีหลายชนิด แต่ชนิดที่พบมากในพื้นที่ภาคอีสานของไทยคือชนิดที่เรียกว่า Opisthorchis viverrini
ปัจจุบันนี้มียาฆ่าพยาธิ ซึ่งช่วยป้องกันการติดพยาธิใบไม้ในตับ แต่เมื่อไม่มีการรักษาการติดพยาธิใบไม้ในตับ การติดพยาธิใบไม้ในตับจะนำไปสู่กระบวนการอักเสบและการพัฒนามะเร็งท่อน้ำดี
พยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis Viverrini, Ov):
ไข่พยาธิใบไม้ในตับที่เกิดพยาธิตัวเต็มวัยจะผ่านออกมาทางท่อน้ำดีและถูกขับออกมากับอุจจาระไข่พยาธิที่ถูกขับออกมามีโอกาสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ เช่น บ่อน้ำ, แม่น้ำ, น้ำในนาข้าว และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งหอยที่อาศัยในแหล่งน้ำจะกินไข่พยาธิเข้าไป แล้วย่อยไข่พยาธิทำให้พยาธิฟักตัวออกจากไข่ ตัวอ่อนพยาธิจะสามารถออกจากตัวหอยและเข้าสู่ตัวปลาน้ำจืดโดยการผ่านเข้าทางเนื้อเยื่อและผิวหนังของปลา เมื่อตัวอ่อนพยาธิเข้าสู่ตัวปลาแล้ว จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างเป็นลักษณะถุงน้ำ (cyst) อยู่ในเนื้อเยื่อของปลา เมื่อคนบริโภคเนื้อปลาที่ติดพยาธิซึ่งไม่ผ่านการปรุงสุก เมื่อ cyst ของพยาธิเข้าสู่ร่างกายของคน cyst จะไปที่ลำไส้เล็กและตัวอ่อนพยาธิจะออกจาก cyst แล้วไปอยู่ที่ตับและเจริญเติบโตอยู่ภายในท่อน้ำดีที่อยู่ในตับ โดยใช้เวลาประมาณ 3 เดือน วงจรชีวิตจึงจะสมบูรณ์ และไข่พยาธิที่ปนเปื้อนออกมากับอุจจาระของผู้ที่ติดพยาธิก็สามารถเป็นระยะติดต่อในสิ่งแวดล้อมได้อีกครั้ง ดังภาพที่แสดง